วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง
"ผู้ป่วยติดเตียง" คือ ผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังจนสภาวะร่างกายเสื่อมโทรม ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนทั่วไป โดยผู้ป่วยอาจจะช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรืออาจไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย อันเนื่องมาจากการป่วยเป็นโรคร้าย การเกิดอุบัติเหตุ และการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาโรค ซึ่งผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้มีเพียงกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น คนหนุ่มสาวอายุไม่มากก็สามารถมีภาวะติดเตียงได้เช่นกัน และถึงแม้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลที่ถูกต้อง และควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ แต่หลายครอบครัวก็ยังคงเลือกที่จะดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน วันนี้ โรงเรียนการบริบาล ซีนีร่า จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างเหมาะสมมาฝาก
วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างเหมาะสม
"ผู้ป่วยติดเตียง" คือ ผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังจนสภาวะร่างกายเสื่อมโทรม ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนทั่วไป โดยผู้ป่วยอาจจะช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรืออาจไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย อันเนื่องมาจากการป่วยเป็นโรคร้าย การเกิดอุบัติเหตุ และการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาโรค ซึ่งผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้มีเพียงกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น คนหนุ่มสาวอายุไม่มากก็สามารถมีภาวะติดเตียงได้เช่นกัน และถึงแม้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลที่ถูกต้อง และควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ แต่หลายครอบครัวก็ยังคงเลือกที่จะดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน วันนี้ โรงเรียนการบริบาล ซีนีร่า จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างเหมาะสมมาฝาก
-
ด้านอาหาร
ผู้ป่วยติดเตียงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับประทานอาหารที่สด สะอาด และจะต้องได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป ส่วนอาหารที่เป็นแป้งหรือน้ำตาล ควรเลือกเป็นข้าวไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงการกินอาหารหรือขนมที่มีรสหวาน และควรเลือกผักที่ต้มสุกหรือนึ่ง สำหรับผลไม้สามารถทานได้ทุกชนิด แต่ควรเลือกผลไม้ที่เคี้ยวง่าย ส่วนน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันงา น้ำมันมะกอก หรือหากเป็นผู้ป่วยที่เจาะคอ ก็ควรดูแลความสะอาดของสายยางให้อาหารให้ดีด้วย
-
ด้านความสะอาด
การดูแลความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียงจะต้องดูแลในหลายๆ ด้าน ในกรณีที่ไม่สามารถอุ้มผู้ป่วยไปอาบน้ำได้ จะต้องทำการเช็ดตัวทุกวัน หากผู้ป่วยมีการขับถ่ายก็ควรรีบทำความสะอาดในทันที และควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งที่มีการทำความสะอาดร่างกาย อีกทั้งสุขภาพช่องปากก็ต้องหมั่นดูแลให้ผู้ป่วยบ้วนปากหรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำสะอาดหรือใช้ยาสีฟันในการเช็ดบริเวณฟันและกระพุ้งแก้มหลังรับประทานอาหาร ส่วนสภาพแวดล้อมภายในห้องของผู้ป่วย จะต้องจัดห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรรกหรือทำให้รู้สึกอึดอัด
-
ด้านสุขภาพจิตใจ
ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยติดเตียงจะต้องเผชิญกันเกือบทุกคน เพราะผู้ป่วยอาจเกิดภาวะเครียด เบื่อหน่ายและไม่มีความสุข ผู้ดูแลจึงควรหมั่นพูดคุยสื่อสาร ปลอบประโลม ให้กำลังใจ หรือหากิจกรรมที่ผ่อนคลายให้ผู้ป่วยทำ และอาจลองเสนอมุมมองที่ทำให้เห็นว่าการเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนล้วนมีโอกาสได้เจอ ผู้ป่วยจึงสามารถอยู่ร่วมกับโรคภัยได้อย่างมีความสุขเฉกเช่นกับคนอื่นๆ
การป้องกันแผลกดทับ
สาเหตุของแผลกดทับมักจะมาจากการที่ผู้ป่วยนอนอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ ขาดเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณผิวหนัง สิ่งที่ผู้ดูแลควรทำคือพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง แล้วให้เปลี่ยนท่านอนแบบอื่นที่ไม่ใช่ท่านอนเดิม เสื้อผ้า หรือผ้าปูที่นอนไม่ควรยับย่น เพราะอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่ทั่วร่างกาย อุปกรณ์ที่สามารถช่วยได้จะเป็นอุปกรณ์ที่ลดแรงกดทับ เช่น หมอนป้องกันแผลกดทับ ที่นอนโฟม เจลรองกระดูก เป็นต้น และทุกครั้งที่เช็ดตัวหรือทำความสะอาดร่างกาย ไม่ควรให้ผิวหนังเปียกชื้นเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบได้
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือไม่สามารช่วยเหลือตัวเองได้เลย จึงมีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวัน และจำเป็นต้องมีผู้ดูแลในระยะยาว หากผู้ที่ดูแลไม่ชำนาญหรือดูแลไม่ใกล้ชิดพอ อาจทำให้ผู้ป่วยประสบกับปัญหาโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ที่โรงเรียนการบริบาล ซีเนร่า เรามีหลักสูตร พนักงานดูแลผู้สูงอายุ ที่สามารถนำเอาความรู้ไปดูแลผู้สูงอายุในบ้านได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
โรงเรียนการบริบาล ซีนีร่า ยินดีให้คำปรึกษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ไลน์ @seneraschool หรือโทร. 065-2525494